กลับ
ขนมขนมผิง

ขนมผิงขนมไทยที่ถือกําเนิดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา

เป็นขนมไทยที่ถือกําเนิดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาช่วงรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นขนมที่ มีต้นมีไข่เป็นส่วนประกอบไม่ใช่ขนมไทยที่มีมาดั้งเดิมกําเนิดมาจากประเทศโปรตุเกส โดยหญิงสาวที่มีชื่อว่า มารี กีมาร์ หรือท้าวทองกีบม้าลูกครึ่งโปรตุเกส-ญี่ปุ่น และเบงกอลที่เกิดใน อาณาจักรอยุธยาหลังจากที่ทหารญี่ปุ่นชุดแรกได้เข้ามาเป็นทหาร อาสาในแผ่นดินของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชไม่นานนักนางมารี กีมาร์ ก็ได้เข้ารับราชการในตําแหน่งหัวหน้าห้องเครื่องต้น เป็นผู้ที่คิดค้นสูตรขนมไทยตํารับโปรตุเกส แสนอร่อยหลากหลายชนิด โดยนําตํารับเดิมของชาวโปรตุเกสมาดัดแปลงผสมผสานกับวัตถุดิบที่มีในสยามประเทศหลักๆ ได้แก่ มะพร้าว แป้ง น้ำตาล จนทําให้เกิดขนมใหม่ๆรสชาติแสนอร่อยหลากหลายชนิด ซึ่งหนึ่งในนั้นก็มีขนมผิงด้วย และเธอยังได้สอนการทําขนมหวาน อาทิ ทองหยอด ฝอยทอง และขนมผิงให้กับผู้ที่ทํางานใกล้ชิดกับเธอจนคนเหล่านั้นได้นําสูตรออกมาถ่ายทอดต่อไป

คําว่าผิง หมายถึงทําของให้สุกโดยใช้ไฟทั้งข้างล่าง และข้างบนดังนั้นการทําขนมผิงก็ต้องนําไปทําให้สุกโดยการยิง โดยเริ่มจากเคี่ยวกะทิบนไฟอ่อนเติมน้ำตาลทรายเคี่ยวจนเดือดไม่แตกมัน ใส่แป้งลงไปกวนในกะทิทีละช้อนจนแป้งสุกจับตัวเป็นก้อน แล้วนํามาปั้นก้อนกลมๆเล็กๆบนถาดเหล็กนําไปฝั่งบนเตาถ่านเรียกว่า ยิ่งล่าง ผิงบน มีถ่านร้อนอยู่ด้านล่างและมีถาดใส่ ถ่านชักรอกอยู่ด้านบนสําหรับการใช้ไฟ ต้องเขี่ยถ่านหรือฟื้นไว้รอบๆตรงกลางใช้ไฟน้อย ขนมที่สุกจะมีสีขาวแกมเหลืองนิดจากนั้นพักจนเย็น แล้วนําไปอบควันเทียนเป็นอันเสร็จเรียบร้อยก็จะได้ขนมผิง

เม็ดเล็กๆ หอมหวานอร่อยลักษณะของขนมผิงที่ดีจะต้องมีก้อนนูนสีนวลแป้งต้องร่วนน้ำหนักเบาละลายในปาก ไม่แข็งกระด้างเกินไป หลังจากที่เราได้ขนมผิงที่อบควันเทียนเรียบร้อย ไม่ควรใส่ถุงพลาสติกจะทําให้ขนมนิ่มเพราะลมเข้า ควรบรรจุในขวดโหลส่วนการรับประทาน หยิบใส่ปากเม็ดเดียว ยังไม่ต้องเคี้ยวอมไว้ก่อนค่อยๆ ให้ละลายทีละนิดได้ความหอมนุ่มละมุนลิ้น และเมื่อเคี้ยวจะได้สัมผัสถึงความกรอบของเนื้อขนม ในปัจจุบันจะมีร้านที่ผิงโดยใช้เตาถ่านแบบโบราณแค่เพียงไม่กี่ที่ และยังมีการเพิ่มสีสันขนมโดยใส่ใส่สีผสมอาหารลงไปและเนื้อขนมแข็งขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้แตกหักง่าย เพราะจะถูกบรรจุในขวดโหลแก้วเล็กๆประดับด้วยโบว์ เพื่อใช้เป็นของขวัญในเทศกาลงานต่างๆแต่เป็นที่น่าเสียดายว่า ปัจจุบันขนมไทยโบราณค่อยๆเลือนหายไปจากวิถีชีวิตของชาวไทยพร้อมกับการเข้ามาของวัฒนธรรมต่างชาติที่หลากหลายถ้าไม่อนุรักษ์ไว้คาดว่าต่อไปในภายภาคหน้า ลูกหลานของเราคงจะไม่รู้จักขนมไทยโบราณเหล่านี้เพราะขนมไทยหลายชนิดเริ่มหายไป หรือหารับประทานยาก เช่น ขนมขี้หนู ขนมกง ขนมหันตรา

 

กูรูเอฟ

ผู้เชี่ยวชาญตัวจริงด้านอาหาร รู้ลึก รู้จริง พร้อมตอบทุกคำถาม