ไนโตรเจนเหลว อันตรายหรือไม่อันตรายกันแน่
ในปัจจุบันมักจะมีขนมแปลกๆ ขาย และขนมที่ได้รับความนิยม คือ “ขนมควันทะลัก เป็นขนมลักษณะเป็นก้อนต่างๆ เมื่อทานเข้าไปจะมีควันพวยพุ่งออกมาจากปาก และจมูกมีผู้สงสัยว่าของเหลวและควันเหล่านี้ อันตรายหรือไม่ ดังนั้นมาดูกันค่ะว่า อันตรายหรือไม่อันตราย ของเหลวที่มีลักษณะใสมีควันพวยพุ่งออกมา คือไนโตรเจนเหลว (Liquid Nitrogen) โดยการนํา “ไนโตรเจน” ที่เรารู้จักว่าเป็นธาตุชนิดหนึ่ง ซึ่งพบอยู่ในบรรยากาศหรืออากาศที่เราหายใจเข้าไป มาทําให้อยู่ในสภาวะของเหลว และมักถูกนําไปใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ รวมไปถึงอุตสาหกรรมอาหารมีอาหารที่ผ่านกระบวนการทําโดยใช้ไนโตรเจนเหลวอยู่มากมาย เช่น Dippin’ Dot Ice Cream หรือค็อกเทลบางชนิดที่มีการผสมไนโตรเจนเหลวลงไปด้วย รวมไปถึงขนมควันทะลักที่เรากําลังพูดถึงด้วยควันที่พุ่งออกมาจากขนมควัน ทะลักนั้นเกิดจากการรวมตัวของก๊าซไนโตรเจนและไอน้ำที่หนาแน่น ทําให้เกิดเป็นควันสีขาวพวยพุ่งออกมา ซึ่งควันนี้จะลอยตัวในที่ต่ำ เช่น ควันที่เกิดจากนํ้าแข็งแห้ง (Dry Ice) ควันทะลักอันตรายหรือไม่
– ควันที่พุ่งออกมา คือก๊าซไนโตรเจนรวมกับไอน้ำที่เข้มข้นซึ่งก๊าซไนโตรเจนเป็นก๊าซใสไม่มีสี ไม่มีกลิ่นไม่สามารถติดไฟได้และไม่มีพิษ จึงไม่เป็นอันตราย
– ตัวขนมที่โดนไนโตรเจนเหลวจะแข็งตัวและกรอบทันที เพราะอุณหภูมิที่ต่ำมากๆ ของไนโตรเจนเหลว ทําให้น้ำที่เป็นส่วนประกอบในขนมนั้นเป็นน้ำแข็งทําให้กรอบและเย็น ซึ่งถ้ามอง เพียงตัวขนม แล้วมันก็คือขนมชิ้นเดิมเพิ่มเติมคือกรอบจึงถือว่าไม่อันตราย
– การแช่ขนมในไนโตรเจนเหลว ถือเป็นกระบวนการการทําอาหารอย่างหนึ่งซึ่งได้รับความนิยมแพร่หลายในอุตสาหกรรมอาหาร เป็นการทําให้อาหารเย็นและกรอบซึ่งการแช่อาหารใน ไนโตรเจนเหลวไม่อันตราย
– ไนโตรเจนจะอยู่ในสถานะของเหลวที่อุณหภูมิต่ำมากๆ ซึ่งอุณหภูมิที่เย็นสุดขั้วนี้ แม้ว่าใช้กับอาหารจะไม่อันตราย แต่ถ้าหากสัมผัสกับผิวหนังของเราแล้วอุณหภูมิในระดับนั้น สามารถทําให้เกิดการ Frostbite ดังนั้น ถ้ารับประทานขนมควันทะลักแล้วซดน้ำไนโตรเจนเหลวเข้าไปด้วย หรือขนมที่มีของเหลวนี้อยู่ยังระเหยไม่หมดก็จะอันตราย
อันตรายจากการทาน “ไนโตรเจนเหลว”
หากรับประทานไนโตรเจนเหลวเข้าไป ความเย็นของมันจะทําให้เกิดอันตรายอย่างมากกับเนื้อเยื่อตามช่องทางเดินอาหาร และถ้าเอามือไปสัมผัสก็จะทําให้เนื้อเยื่อผิวหนังได้รับอันตราย เกิดอาการที่เรียกว่า Frostbite คือความเย็นที่กัดผิวหนังนั่นเอง ซึ่งอาการนี้คือการเจ็บปวด และการบวมจากน้ำเหลืองบนผิวหนังของเรานั่นเองแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะสัมผัสไม่ได้เลย
ในโตรเจนเหลวสัมผัสได้ ไม่อันตราย
แม้ว่าอุณหภูมิที่เย็นสุดขั้วนี้ จะทําให้มือพุพองได้แต่ไนโตรเจนเหลวจะไม่ได้ทําอันตรายกับมือตั้งแต่แรกสัมผัส เพราะอุณหภูมิที่ผิวหนังต่างจากอุณหภูมิของเหลวอย่างมาก ทําให้เกิดปรากฏการณ์ที่มีชื่อว่า Leidenfrost Effect ซึ่งจะทําให้ตัวของเหลวกลายเป็นไอแล้วไอนั้นผลักตัวของเหลวให้ลอยเหนือพื้นผิวที่อุณหภูมิสูงกว่ามาก ทําให้ผิวหนังไม่ได้สัมผัสกับไนโตรเจนเหลวโดยตรง หรือที่เคยเห็นกันง่ายๆ หากเราหยดน้ำลงบนกระทะร้อนๆ น้ำจะวิ่งไปรอบกระทะ โดยไม่ได้สัมผัสกระทะจนระเหยหมดไป แต่ถ้าหากทิ้งไนโตรเจนเหลวไว้บนผิวหนังนานๆ ของเหลวจะสัมผัสกับผิวหนัง ก็จะเกิดการ Frostbite แน่นอน ดังนั้นการทานขนมชนิดนี้ให้ปลอดภัย ควรรอให้ไนโตรเจนเหลวระเหยออกให้หมดเสียก่อน
กูรูเอฟ
ผู้เชี่ยวชาญตัวจริงด้านอาหาร รู้ลึก รู้จริง พร้อมตอบทุกคำถาม