บอกลา 9 ปัญหาของเค้กที่มือใหม่หัดทำต้องรู้!
- หมวด มือใหม่หัดทำเบเกอรี่
เค้ก (Cake) เป็นขนมหวานที่คนนิยมทานกันมาตั้งแต่ในสมัยอดีต จนมาถึงปัจจุบัน ซึ่งขนมเค้กได้มีการพัฒนาออกมาได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งเรื่องรูปทรง การแต่งหน้าเค้ก และรสชาติ ถึงแม้เค้กจะเป็นขนมที่คนนิยมทาน และมีขายกันเป็นจำนวนมาก แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะสามารถทำขนมเค้กออกมาเพอร์เฟคภายในครั้งเดียว วันนี้เราเลยมัดรวม 10ปัญหา มาเปลี่ยนมือใหม่ให้เป็นมือโปรกันเถอะ เรามาวอร์มเครื่องดูกันว่ามีเรื่องอะไรที่เราต้องรู้บ้าง
Highlight
– เนื้อเค้กเป็นไต เพราะอะไรกันนะ?
– เนื้อเค้กแน่น ไม่ขึ้นฟู ทำอย่างไรดี
– เนื้อเค้กยุบ เป็นหลุมตรงกลาง
– เนื้อเค้กแห้ง และแข็งกระด้าง
– อบเค้กแล้วหน้าเค้กแตก
– เค้กหน้าแฉะ เกิดจากอะไรกันนะ
– ทำไมเนื้อเค้กเหนียว ไม่นุ่มฟู
– ทำไมเนื้อเค้กถึงมีรูพรุน
– เนื้อเค้กด้านนอกสุก แต่ด้านในไม่สุกทำไงดี
– ทำไงดี ไม่รู้ว่าเค้กสุกหรือยัง?
เนื้อเค้กเป็นไต เพราะอะไรกันนะ?
ก่อนอื่นต้องอธิบายก่อนว่าลักษณะของเนื้อเค้กที่เป็นไต คือ เค้กที่อบจนสุก แต่ส่วนผสมของไขมันที่มากเกินไป จึงทำให้เนื้อเค้กที่้ไม่ขึ้นฟู นั่นเอง
ปัญหาที่เจอ | วิธีแก้ไข |
ในขั้นตอนเตรียมวัตถุดิบ
– ไข่ไก่ที่ใช้ไม่สด หรือไข่ไก่เพิ่งออกจากตู้เย็นแล้วเย็นเกินไป – ส่วนผสมของเหลวมีอุณภูมิที่เย็นเกินไป ระหว่างการทำ – คนส่วนผสมไม่เข้าดี เนื้อแป้งไม่เนียน – ตอนอบใช้อุณหภูมิที่สูงเกินไป |
ในขั้นตอนเตรียมวัตถุดิบ
– ก่อนทำขนมควรเอาไข่ไก่และส่วนผสมเหลวออกมาพักไว้ในอุณภูมิห้องให้คลายเย็น ระหว่างการทำ – ควรคนส่วนผสมให้เข้ากันดี แต่ไม่ต้องคนนานเกินไป – ต้องใช้อุณภูมิที่เหมาะสมในการอบ ควรใช้ไฟอบอยู่ที่ 160-180 องศาเซลเซียส |
เนื้อเค้กแน่น ไม่ขึ้นฟู ทำอย่างไรดี
ปัญหาที่เจอ | วิธีแก้ไข |
ในขั้นตอนเตรียมวัตถุดิบ
– ไข่ไก่มีอุณภูมิเย็นเกินไป ระหว่างการทำ – ตีส่วนผสมอาจจะตีเนยกับน้ำตาลขึ้นฟูเบาเกิน หรือในช่วงที่ผสมกับแป้ง อาจจะตีนานเกินไป ทำให้แป้งเหนียว จึงทำให้ออกมาเนื้อแข็ง และแน่น – อุณภูมิที่ใช้อบอาจจะสูงเกิน |
ในขั้นตอนเตรียมวัตถุดิบ
– ไข่ไก่ที่ใช้ต้องอยู่ในอุณภูมิห้อง ระหว่างการทำ – ส่วนผสมตีเนยกับน้ำตาลให้ขึ้นฟู และตอนคนส่วนผสมควรคนแค่พอเข้ากันดี – อุณภูมิที่ใช้อบต้องไม่สูงเกิน 200 องศาเซลเซียส |
เนื้อเค้กยุบ เป็นหลุมตรงกลาง
ปัญหาที่เจอ | วิธีแก้ไข |
ระหว่างการทำ
– เกิดจากการที่ตีไข่ขาวแล้วตั้งยอดอ่อนหรือไม่ตั้งยอด ทำให้มีฟองอากาศน้อย แล้วโครงสร้างมีฟองอากาศไม่เพียงพอเลยส่งผลให้เค้กออกมาแล้วยุบตัว |
ระหว่างการทำ
– ควรตีไข่ขาวให้ ตั้งยอด ให้ฟองอากาศมีขนาดเล็กลงและละเอียด ให้ตีจนไข่ขาวที่เป็นของเหลว ขึ้นฟูหรือตั้งยอดนั่นเอง |
เนื้อเค้กแห้ง และแข็งกระด้าง
ปัญหาที่เจอ | วิธีแก้ไข |
ในขั้นตอนเตรียมวัตถุดิบ
– อาจจะเกิดจากการใส่แป้งและไข่ไก่เยอะเกินไป ระหว่างการทำ – คนส่วนผสมแป้งเค้กนาน หรือตีไข่ขาวตั้งยอดแข็งจนเกินไป – ใช้เวลาในการอบเค้กนานเกิน จึงทำให้เนื้อเค้กแห้งและแข็งกระด้าง |
ในขั้นตอนเตรียมวัตถุดิบ
– ให้ตรวจเช็คสูตรก่อนว่ามีปริมาณของแป้ง และไข่ไก่ในปริมาณที่มากเกินไปหรือเปล่า ระหว่างการทำ – ควรคนส่วนผสมแป้งให้พอเข้ากันดี และตีไข่ขาวในระดับปานกลางจนตั้งยอด แต่ไม่ตั้งแข็งเกินไป – ควรตรวจเช็คระยะเวลาในการอบของเค้กแต่ละประเภทที่ทำ |
อบเค้กแล้วหน้าเค้กแตก
ปัญหาที่เจอ | วิธีแก้ไข |
ระหว่างการทำ
– สาเหตุการหน้าแตกอาจจะเกิดจากการใช้ไฟในการอบแรง และใช้เวลาในการอบเค้กนานเกินไป จึงทำให้เค้กที่ออกมาหน้าแตก |
ระหว่างการทำ
– โดยปกติการอบเค้กจะควรใช้อุณหภูมิตั้งแต่ 160 – 180 องศาเซลเซียส และระยะเวลาในการอบของเค้กขึ้นอยู่กับประเภทของเค้กที่ทำ |
เค้กหน้าแฉะ เกิดจากอะไรกันนะ
ปัญหาที่เจอ | วิธีแก้ไข |
ระหว่างการทำ
– เมื่ออบเค้กเสร็จ ตัวเค้กจะปล่อยความชื้นออกมาหากทิ้งไว้ในพิมพ์เค้กนาน แล้วตอนนำเค้กออกจากพิมพ์ เนื้อเค้กด้านข้างที่ได้จะมีความแฉะ เมื่อคว่ำลงบนตะแกรงแล้วเค้กติดกับกระดาษรองอบ |
ระหว่างการทำ
– เมื่ออบเสร็จให้รีบนำเค้กออกจากพิมพ์ แล้วพักเค้กบนตะแกรง จากนั้นใช้พิมพ์เค้กครอบตัวเค้กลงไป |
ทำไมเนื้อเค้กเหนียว ไม่นุ่มฟู
ปัญหาที่เจอ | วิธีแก้ไข |
ระหว่างการทำ
– สาเหตุที่เนื้อเค้กเหนียวอาจจะเกิดจากการคนส่วนผสมนานจนเกินไป ทำให้เกิดฟองอากาศน้อยและขยายตัวได้น้อยลง จึงได้เนื้อเค้กที่มีความเหนียว |
ระหว่างการทำ
– ควรคนส่วนผสมด้วยความเร็วต่อเนื่อง สม่ำเสมอกัน จนไม่เหลือเศษเม็ดแป้ง แต่ต้องไม่คนส่วนผสมนาน |
ทำไมเนื้อเค้กถึงมีรูพรุน
ปัญหาที่เจอ | วิธีแก้ไข |
ระหว่างการทำ
– เกิดจากการตีไข่ขาวแล้วตั้งยอดแข็งเกินไป เมื่อนำมาผสมกับส่วนผสมอื่นจึงทำให้ได้เนื้อเค้กที่ไม่เนียน และมีฟองอากาศขนาดเล็ก ใหญ่ไม่เท่ากัน เมื่ออบเสร็จเค้กจึงเกิดรูนั่นเอง |
ระหว่างการทำ
– ควรคนผสมส่วนผสมให้เร็วอย่างต่อเนื่อง แต่ต้องเบามือ และเพิ่มระยะเวลาในการตีตัดฟองอากาศ จนเนื้อเดียวกันแล้ว |
เนื้อเค้กด้านนอกสุก แต่ด้านในไม่สุกเป็นเพราะอะไร
ก่อนอื่นต้องอธิบายก่อนว่าลักษณะของเนื้อเค้กที่เป็นไต คือ เค้กที่อบจนสุก แต่ส่วนผสมของไขมันที่มากเกินไป จึงทำให้เนื้อเค้กที่้ไม่ขึ้นฟู นั่นเอง
ปัญหาที่เจอ | วิธีแก้ไข |
ในขั้นตอนเตรียมวัตถุดิบ
– เกิดจากส่วนผสมของเหลว เช่น นม ไข่ มีปริมาณมากเกินไป – พิมพ์ที่ใช้มีขนาดหนา ระหว่างการทำ – ไฟที่ใช้ในการอบมีอุณภูมิที่สูงเกินจึงทำให้เค้กด้านนอกสุกได้ไวกว่าด้านใน |
ในขั้นตอนเตรียมวัตถุดิบ
– ให้ตรวจเช็คสูตรก่อนว่ามีปริมาณของเหลวมากเกินไปหรือเปล่า ระหว่างการทำ – ไฟที่ใช้อบควรมีความร้อนสม่ำเสมอกัน ควรมีเทอโมมิเตอร์วัดอุณหภูมิ |
ทำไงดี ไม่รู้ว่าเค้กสุกหรือยัง?
ปัญหาที่เจอ | วิธีแก้ไข |
– เค้กที่อบออกมาสุกไม่ทั่วทั้งก้อน จะเปิดเช็คบ่อยๆ ก็อาจทำให้ขนมหน้ายุบไม่ฟู ไม่รู้วิธีการเช็คความสุกของเนื้อเค้กแบบไหนกันดี ง |
การเช็คความสุกของเนื้อเค้กด้วย 2 วิธีง่ายๆ
– วิธีแรกคือ ใช้นิ้วแตะบริเวณกึ่งกลางหน้าเค้ก ถ้าผิวหน้าเกิดการสปริงตัวขึ้นมาแสดงว่าเค้กสุกแล้ว |
ที่สำคัญการเลือกใช้แป้งให้ถูกประเภทกับเนื้อของขนมที่เรา ถือว่าเป็นเรื่องที่มือใหม่หัดทำไม่ควรพลาดเลยทีเดียว หากต้องการที่จะทำขนมเค้กควรใช้แป้ง “แป้งสาลีตรายูเอฟเอ็มสำหรับทำเค้ก ตราพัดโพก” และ “แป้งสาลีตรายูเอฟเอ็มสำหรับทำเค้ก ตราบัวแดง” นั่นเอง
อ้างอิง:
*นิตยสาร สารยูไนเต็ด ปีที่23 มกราคม 2543
*นิตยสาร สารยูไนเต็ด ปีที่25 มีนาคม 2545
กูรูเอฟ
ผู้เชี่ยวชาญตัวจริงด้านอาหาร รู้ลึก รู้จริง พร้อมตอบทุกคำถาม