ชีสเค้กกําลังเป็นขนมที่นิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ลักษณะชีสเค้กโดยทั่วไปส่วนผสมหลักทําจากชีสสดแบบนิ่มสําหรับส่วนผสมอื่นๆประกอบไปด้วย น้ำตาล ไข่ แป้ง และของเหลว ชีสเค้กจะถูกหุ้มด้วย เปลือก ซึ่งท่าจากพาย คุกกี้ หรือบิสกิตบดละเอียดหรือกรุเป็นฐานด้านล่างก็ได้กลิ่นรสของชีสเค้กจะมาจากชนิดของชีสเค้กที่นํามาใช้ ยกตัวอย่างเช่น ในประเทศอิตาลีจะใช้รีคอตต้าชีส ส่วนในประเทศอเมริกาจะใช้เป็นพวกครีมชีส ซึ่งชนิดของชีสที่ใช้จะไม่เหมือนกันก็ไม่ก่อให้เกิดผลกับโครงสร้างหรือรสสัมผัสในตัวเค้ก ซึ่งเนื้อเค้กจะมีความหนักหรือเบาจะขึ้นอยู่กับวิธีผสมของแต่ละสูตรหลักสําคัญจะอยู่ที่การอบตัวชีส มากกว่าว่าจะอบอย่างไรให้ชีสเค้กสุกหรืออยู่ตัวหน้าไม่แตก สีไม่เข้มมาก หรือไม่เกิดการยุบตัวเวลาพักให้ตัวเค้กเย็น
เริ่มจากการเตรียมพิมพ์
นิยมใช้พิมพ์หน้ากว้าง ขอบไม่สูงมากเพราะง่ายต่อการเช็คเนื้อชีสว่าสุกหรือไม่ และสะดวกในการนําชีสเค้กที่สุกแล้วออกจากพิมพ์โดยที่เนื้อเค้กไม่เกิดการแตกหรือหัก และที่สําคัญควรใช้พิมพ์ที่ไม่มีรอยต่อของขอบพิมพ์บริเวณด้านล่างของพิมพ์ควรเป็นพิมพ์เนื้อเดียวกันแต่ถ้าหาไม่ได้ต้องใช้พิมพ์ที่มีขอบ ต้องให้อยู่ในสภาพดีพร้อมใช้งาน ถ้าไม่แน่ใจควรหุ้มขอบก้นพิมพ์ด้วยแผ่นอลูมิเนียมฟอยล์ให้ทั่วเพื่อป้องกันน้ำรั่วซึมเข้าเนื้อเค้กระหว่างการอบ
การตั้งอุณหภูมิเตาอบ
การอบชีสเค้กควรตั้งอุณหภูมิเตาอบอยู่ที่ 300 – 350 ฟ. และควรตั้งอุณหภูมิให้คงที่ก่อนนําเค้กเข้าอบ ถ้าไม่แน่ใจในอุณหภูมิควรมีเทอร์โมมิเตอร์เช็คอุณหภูมิภายในเตาสําหรับเตาแก๊ส เพราะถ้าอุณหภูมิในเตาสูงเกินไปจะทําให้ผิวเค้กเข้มหนาภายในยังไม่สุก แต่ถ้าอุณหภูมิในเตาอบต่ำเกินไปเนื้อเค้กจะไม่อยู่ตัวเท่าที่ควร อาจยุบได้
การเลือกใช้เตาอบ
ใช้ได้ทั้งเตาอบแบบไฟฟ้าและแบบแก๊สแต่มีข้อควรระวังคือ
- เตาอบแบบไฟฟ้าชนิดที่มีพัดลม ไม่ควรเปิดพัดลมขณะอบชีสเค้ก เนื่องจากพัดลมจะหมุนเวียนความร้อน ทําให้หน้าเค้กเกิดสีเร็ว และสีเข้มมากกว่าจะอบจนเนื้อเค้กสุกซึ่งจะทําให้บริเวณกึ่งกลางหน้าเค้กยุบตัว เมื่อพักให้เค้กเย็น เพราะหน้าเค้กเกิดสีก่อนที่เนื้อเค้กจะสุกดี
- เตาอบแก๊ส ควรควบคุมอุณหภูมิให้คงที่ให้ได้ก่อนที่จะนําชีสเค้กเข้าอบ ขณะตั้งอุณหภูมิก่อนอบไม่ควรเร่งความร้อนมากจนเกินไปหรือเปิดเตาอบไว้นานเกินไป เพราะจะทําให้เตาร้อนมากพอนําชีสเค้กเข้าอบ หน้า ขนมจะเกิดสีเข้มเร็วเกินไป
การอบชีสเค้ก
อบแบบรองน้ำโดยการวางพิมพ์เค้กไว้กลางถาดอบ เติมน้ำอุ่นสูงพอประมาณพอท่วมก้นพิมพ์ประมาณ 1 ซม. การอบแบบรองน้ำจะช่วยทําให้ชีสเค้กสุกแบบช้าๆ จากขอบหรือริมข้างเค้กจะเกิดเป็นสีเหลืองทอง จะไม่ทําให้ขอบด้านข้างหน้าแห้ง หน้าเค้กจะค่อยๆเกิดสีช้าๆจากริมมา จนถึงกึ่งกลางหน้าเค้กโดยที่ผิวหน้าที่เกิดสีจะไม่หนา และไม่แตกลายเพราะน้ำที่รองไว้จะช่วยลดความร้อนรอบๆตัวเค้กและเติมความชื้นให้กับเตาอบ ทําให้เค้กที่อบสีสวยสม่ำเสมอและเกิดสีช้า
การเช็คสุก
โดยปกติหน้าของชีสเค้กเมื่ออบสุก จะมีสีอ่อนถึงสีเหลืองทองอ่อนๆจะไม่เข้มมากเพราะถ้าหน้าเกิดสีเข้มมากจะทําให้หน้ายุบบริเวณกึ่งกลางการเช็คสุกอย่างแรกดูว่าด้านหน้าเค้กและบริเวณข้างเค้กแห้ง จากนั้นใช้ปลายนิ้วแตะสัมผัสกึ่งกลางหน้าเค้ก ถ้าเกิดการสปริงตัวขึ้นไม่มีรอยบุ๋มของนิ้วมือแสดงว่าเนื้อเค้กสุก
การนําออกจากเตา การพักให้เย็นและนําออกจากพิมพ์
นําถาดเค้กออกจากเตาเอาพิมพ์เค้กออกจากถาด พักให้เย็นบน ตะแกรง อย่าลืมเอาแผ่นอลูมิเนียมฟอยด์ก้นพิมพ์ออกถ้ามีการหุ้มพิมพ์เอาไว้ ควรพักชีสเค้กในพิมพ์ให้เย็นสนิทก่อนนําออกจากพิมพ์ ถ้านําออกจากพิมพ์ขณะอุ่นหรือร้อนอยู่จะเกิดการแตกหักของเนื้อเค้กขึ้นได้ เพราะเนื้อเค้กจะนิ่มมากเมื่ออบสุกใหม่ๆ แต่ถ้าอยากรีบเอาชีสเค้กออกจากพิมพ์ขณะที่ยังอุ่นๆ นําไปแช่ให้เย็นในตู้เย็นก่อนจึงแซะขอบด้านข้างแล้วคว่าขนมออกจากพิมพ์ ถ้าไม่รีบร้อนพักให้เย็นสนิทที่อุณหภูมิห้องก่อน หรือแช่เย็นค้างคืนไว้ในตู้เย็นก็ได้ แต่ควรปิดหน้าเค้กไว้ด้วยเพื่อกันหน้าแฉะด้วยพลาสติกฟิล์ม หรือจะเก็บเข้าช่องแข็งไว้ก็ได้แต่ถ้าเก็บไว้นานเกินเนื้อ เค้กจะติดพิมพ์แซะออกยากให้เอาพิมพ์ออกมาพักให้คลายความเย็นนอก ตู้เย็นที่อุณหภูมิห้องก่อนประมาณ 10-15 นาทีจะเห็นข้างเค้กหดออกจากพิมพ์ แล้วค่อยๆแซะเค้กออกจากพิมพ์แต่ถ้าข้างเค้กไม่หดให้เอาสเปตูล่าแช่ในน้ำอุ่นแล้วค่อยๆแซะข้างพิมพ์ก็จะช่วยได้
ข้อควรระวังในการอบ
ในการอบชีสเค้กใช้เวลานานกว่าชีสจะสุกจึงต้องหมั่นเช็คตอนอบเค้กดังนี้
- ต้องมีการเช็คน้ำที่หล่อเค้ก ถ้าระดับน้ำลดลงไปมากให้เติมน้ำอุ่นเข้าไปถ้าเนื้อเค้กยังไม่สุก
- ถ้าอุณหภูมิในเตาอบเริ่มสูงขึ้น น้ำที่หล่อเค้กไว้เริ่มเดือดควรลดอุณหภูมิของน้ำที่หล่อไว้โดยการใส่น้ำแข็งลงไปเล็กน้อย เพราะถ้าอุณหภูมิของนํ้าสูงมากอาจส่งผลให้หน้าเค้กเกิดรอยร้าวขึ้นได้
- ไม่ควรเปิดประตูเตาอบดูเค้กบ่อยๆ เพราะอาจทําให้การอบใช้เวลานานขึ้นเนื่องจากอุณหภูมิในเตาอบลดต่ำลง และที่สําคัญเมื่อนําเค้กเข้าอบใหม่ๆไม่ควรเปิดประตูเตาอบดูขนมเลยเพราะถ้าเปิดประตูเตาขนม ขณะที่เนื้อเค้กกําลังขึ้นฟู อาจทําให้หน้าเค้กยุบเนื่องจากพอเปิดประตูเตาอบอุณหภูมิภายในเตาจะเกิดการเปลี่ยนแปลงเมื่ออุณหภูมิภายนอกเย็นกว่าภายในเตาเข้าไปถ้าอยากเปิดประตูเตาอบเพื่อดูขนมหรือเช็คขนมควรให้เวลาผ่านไปประมาณ 30 นาทีเป็นอย่างน้อย
สูตรชีสเค้กจากเข้าครัวกับยูเอฟเอ็ม
กูรูเอฟ
ผู้เชี่ยวชาญตัวจริงด้านอาหาร รู้ลึก รู้จริง พร้อมตอบทุกคำถาม